ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

บทวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง “ทุกข์ของชาวนาในบทกวี”
โดย...คุณชัยณรงค์  อกอุ่น
ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร
อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
อีเมล์ : makkaaot@gmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)


          บทความเรื่อง “ทุกข์ของชาวนาในบทกวี” มีที่มาจากหนังสือรวมบทความบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๔๑


ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-5-59

          หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๑ หมวดด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์ เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับ เรียงร้อยถ้อยดนตรี
ชวนคิดพินิจภาษา นานาโวหาร คำขานไพรัช สมบัติภูมิปัญญา ธาราความคิด นิทิศบรรณา สาราจากใจและมาลัยปกิณกะ
          ในหมวด “ชวนคิดพินิจ” เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม ๔ เรื่อง คือ ภาษากับคนไทย การใช้สรรพนาม วิจารณ์คำอธิบายในไวยากรณ์บาลี และทุกข์ของชาวนา
ในบทกวี ซึ่งเป็นบทวิจารณ์ร้อยกรองซึ่งผู้เขียนนำมานำเสนอในครั้งนี้
          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็น “บทความแสดงความคิดเห็น” ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจาก
การวิเคราะห์ ซึ่งใช้วิจารณญาณของผู้เขียน โดยผ่านการสังเกตปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียด ความคิดเห็นที่เสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของ
ผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อน
          อย่างไรก็ตาม บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการสร้างสรรค์ ไม่ใช่การบ่อนทำลาย ความน่าเชื่อถือของ
ความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา การใช้ปัญญาไตรตรองโดยปราศจากอคติ และการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
          เนื้อเรื่องย่อนั้น ในตอนแรกของบทความ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกย่องบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งบทประพันธ์ดังกล่าว คือ

          เปิบข้าวทุกคราวคำ
เหงื่อกูที่สูกิน
          ข้าวนี้น่ะมีรส
เบื้องหลังสิทุกข์ทน
          จากแรงมาเป็นรวง
จากรวงเป็นเม็ดพราว
          เหงื่อหยดสักกี่หยาด
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น
          น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง
สายเลือดกูทั้งสิ้น
สูจงจำเป็นอาจิณ
จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ใช้ชนชิมทุกชั้นชน
และขื่นขมจนขืนคาว
ระยะทางนั้นเหยียดยาว
ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
จึงแปรวงมาเป็นกิน
และน้ำแรงอันหลั่งริน
ที่สูซดกำซาบฟัน

          ซึ่งบทประพันธ์นี้ กล่าวถึงชีวิตละความทุกข์ยากของชาวนา ในตอนต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย ทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีนเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนา
ไทยว่ามิได้มีความแตกต่างกันแม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งภูมิอากาศเอื้อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือชาวนาเท่าที่ควร และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ
ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอบทกวีที่แตกต่างกัน แต่กวีทั้งสองท่านกลับมีแนวความคิดที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ มุ่งที่จะกล่าวถึงความทุกข์ยากของ
ชาวนา และทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน


ภาพ จิตร ภูมิศักดิ์
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
 11-5-59

บทวิเคราะห์
          ๑. คุณค่าด้านภาษา
               กลวิธีการแต่ง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นความคิดชัดเจน ลำดับเรื่องราวได้เข้าใจง่าย
และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน คือ
               ส่วนนำ กล่าวถึงบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาจากอดีตมาประกอบการเขียนบทความ
               เนื้อเรื่อง วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ และของหลี่เชิน โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ เช่น
“...ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ “ลำเลิก” กับใคร ๆ ว่า ถ้าไม่มีคนคอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน...”
               ส่วนสรุป สรุปความเพียงสั้น แต่ลึกซึ้ง ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใด ๆ ก็เกิดปัญหาเช่นนี้ ดังความที่ว่า
“...ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์รุ่นต่อไป...”
               สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน โดยทรงใช้การเปรียบเทียบวิธีการนำเสนอของกวีไทยและจีนว่า
“เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินและจิตรต่างกันคือ หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเป็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่าน
ฟังด้วยตนเอง”
          บทกวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน คือแม้ว่าในฤดูเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตมิได้เป็น
ของผู้ผลิต คือชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร ซึ่งหลี่เชินได้บรรยายภาพที่เห็นเหมือน จิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ ใช้กลวิธีบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยายเรื่อง
ราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง
          อย่างไรก็ตาม แนวคิดของกวีทั้งสองคล้ายคลึงกัน คือ ต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัย ประสบกับความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน


ข้อมูลภาพ ณ วันที่
 11-5-59

คุณค่าด้านสังคม
          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี ๑๑ จำนวน ๕ บท มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบาก
ของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนทุกชนชั้น พระองค์ทรงเห็นด้วยกับบทกวีนี้และยังทรงกล่าวอีกว่าเนื้อหาบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ สอดคล้องกับบทกวีของหลี่เชิน กวีชาว
จีนที่แต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง แสดงให้เห็นว่าสภาพชีวิตของชาวนาไม่ว่าที่ใดแห่งใดในโลก จะเป็นไทยหรือจีนจะเป็นสมัยใด ๆ ก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียว
กันทั้งสิ้น
          ดังนั้น แนวคิดสำคัญของบทความพระราชนิพนธ์เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี จึงอยู่ที่ความทุกข์ยากของชาวนา และสภาพชีวิตของชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ
ดังความที่ว่า
          “...แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตมิได้เป็นของผู้ผลิต คือชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร...”
          แม้ว่าในบทความนี้จะไม่เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา แต่แนวคิดของเรื่องที่แจ่มแจ้งและชัดเจนดังที่กล่าวมา ก็มีผลให้สังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวของได้ประจักษ์และตระหนัก
ถึงความสำคัญของชาวนาและเล็งเห็นปัญหาต่าง ๆ อันอาจนำไปสู่การแสวงหาหนทางแก้ไขในท้ายที่สุด
          พระราชนิพนธ์เรื่อง ทุกข์ของชาวในบทกวี แสดงให้เห็นความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตาอันเปี่ยมล้น
ของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ทำงานแบบหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ตลอดทั้งปี ดังนั้นในฐานะผู้บริโภคจึงควรสำนึกใน
คุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูก “ข้าว” อันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของคนไทย


                                           เพลง เปิบข้าว (ความทุกข์ของชาวนาในบทกวี)






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น